รูปแบบการบริหาร 5 ร Model

รูปแบบการบริหารจัดการสร้างความเข้มแข็งให้แก่คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา (ก.ต.ป.น.) โดยใช้หลักการมีส่วนร่วม (Participation) โมเดล 5 ร

                  

 

ร่วมคิด (Thinking Participation) หมายถึง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมคิดวางแผน การติดตามการกำหนดตัวชี้วัด ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดพื้นที่การศึกษา เพื่อเตรียมการรับการนิเทศ ติดตามและประเมินผลจากหน่วยงานภายนอก

ร่วมปฏิบัติ (Implementing Participation) หมายถึง ให้ทุกภาคส่วนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย  ในการจัดการศึกษา มีส่วนร่วมในงานด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล  และด้านการบริหารงานทั่วไป ภายใต้ความร่วมมือของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา คณะกรรมการติดตามตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา และคณะอนุกรรมการติดตาม ตรวจสอบประเมินผลการจัดการศึกษา

ร่วมติดตาม นิเทศ (Supervision Participation) หมายถึง คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบประเมินผล และนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษามีส่วนร่วมในการกำกับ นิเทศ และติดตามความก้าวหน้า ตามแผนเป็นระยะ ๆ โดยสร้างเครือข่ายเป็นกลไกในการติดตามและนิเทศการศึกษา

ร่วมประเมินผล (Evaluation Participation) หมายถึง คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบประเมินผล และนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษามีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล ตามแผนปฏิบัติการที่กำหนดไว้

ร่วมปรับปรุงและพัฒนา (Improve and develop Participation) หมายถึง คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา ของเขตพื้นที่การศึกษามีส่วนร่วมในการสรุปผล และรายงานผลการดำเนินงานต่อต้นสังกัดในด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล  และด้านการบริหารงานทั่วไป และนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนางานของเขตพื้นที่การศึกษา

กลไกการขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติ

  1. คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา (ก.ต.ป.น.) ร่วมกับคณะอนุกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา (อ.ก.ต.ป.น.) ทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดตามประเด็นในแผนการติดตามฯ โดยใช้เครื่องมือ
  2.  วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เก็บข้อมูลโดยตรงจากผู้ปฏิบัติ หรือผู้ให้ข้อมูลสำคัญ  (Key Informant) ในสถานศึกษา โดยใช้การสัมภาษณ์ การสอบถาม การสังเกต ประกอบข้อมูลเอกสาร  เท่าที่จำเป็น โดยไม่สร้างภาระขั้นตอนเกินความจำเป็นแก่การปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษา
  3.  การวิเคราะห์ข้อมูล โดยวิธีผู้เชี่ยวชาญ เพราะข้อมูลที่ได้จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ  เป็นการกลั่นกรองมาจากการปฏิบัติงานโดยตรง ถือเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้ เมื่อนำมาจัดเรียบเรียง และวิเคราะห์แบบพรรณนาวิเคราะห์ (Content Analysis) โดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตอบโจทย์เชิงนโยบาย ทำให้ผลของ การวิเคราะห์ข้อมูล มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเพียงพอแก่การนำไปใช้อ้างอิงต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้
  4.  การจัดทำข้อเสนอแนะ ให้มีองค์ประกอบครบถ้วน เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ เพื่อมุ่งอธิบายสาระสำคัญและวิธีปฏิบัติให้เพียงพอแก่ความเข้าใจได้ โดยมีผลผูกพันต่อหน่วยงานตามนัยของข้อ 25-28  ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการตรวจราชการ การติดตาม ตรวจสอบ ประเมิน และนิเทศการศึกษา พ.ศ. 2560

เครื่องมือการขับเคลื่อน (ติดตาม ตรวจสอบ ประเมิน นิเทศการศึกษา)

แบบติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการบริหารงาน 4 ด้านของสถานศึกษา เป็นแบบเก็บข้อมูลการติดตามการบริหารงานของสถานศึกษาในสังกัดทุกโรงเรียน จำนวน ๑๗๒ โรงเรียนที่ได้ให้ข้อมูลได้ครบถ้วน

ปฏิทินการปฏิบัติงานติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา

ที่ กิจกรรม ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ
1 วางแผนการดำเนินงาน (Plan)

1.1 จัดทำโครงการการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการจัดการศึกษา

1.2 จัดทำแผนการนิเทศ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการจัดการศึกษา ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕

ต.ค. 2564 คณะศึกษานิเทศก์
2 ดำเนินการ (Do)

2.1 จัดประชุมคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา (ก.ต.ป.น.)ภาคเรียนละ 1 ครั้ง รวม 2 ครั้งต่อปี

2.2 แต่งตั้งและจัดประชุมคณะอนุกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา(อ.ก.ต.ป.น.)

2.3 นิเทศ ติดตามฯ เก็บข้อมูล การดำเนินงาน  การบริหารงานและการนำนโยบายสู่การปฏิบัติของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1

พ.ย.64 – ก.ย.65 คณะศึกษานิเทศก์และคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการจัดการศึกษา
3 ตรวจสอบ วิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงาน (Check)

3.1 จัดทำรายงานการประชุมคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา (ก.ต.ป.น.) ภาคเรียนละ 1 ครั้ง รวม ๒ ครั้งต่อปีเพื่อวิเคราะห์ ประเมินผล และวางแผนการดำเนินงานในแต่ละไตรมาส

3.2 ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา (ก.ต.ป.น.) และคณะอนุกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา (อ.ก.ต.ป.น.)

3.3 การศึกษา วิเคราะห์ วิจัยข้อมูล จากการบริหารงานและการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ

พ.ย.64 – ก.ย.65 คณะศึกษานิเทศก์และคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการจัดการศึกษา
4 สรุปผลการดำเนินงานและให้ข้อเสนอแนะใน  การพัฒนางาน พร้อมเผยแพร่ผลการปฏิบัติงาน ต่อผู้เกี่ยวข้อง  (Act)

 

ก.ย.65 คณะศึกษานิเทศก์และคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการจัดการศึกษา

ที่มา .. คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา (ก.ต.ป.น.) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *